Cute Strawberry

ของ

ตัววิ่ง

ยินดี ต้อนรับ สู่บล็อกของนางสาววรรณธิดาพร รัตน์วิจิตต์เวช

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

เรื่องที่    ความสำคัญของพระพุทธศาสนา

สาระสำคัญ
         พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เกิดขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทุกชั้นวรรณะ  โดยมุ่งเน้นถึงกลุ่มคนที่มีความวุ่นวายหรือมีความทุกข์  เพื่อดับตัณหาความยากของมนุษย์อันเป็นต้นเหตุความทุกข์  พระพุทธศาสนามีวิธีการแห่งหลักธรรมคำสอนที่เป็นจุดแห่งความคิดมากมาย  โดยอาศัยความศรัทธาเป็นพื้นฐานและมีปัญหาเป็นผลที่เกิดตามมา

เรื่องที่  ๒ ภาวนา 4

ภาวนา หมายถึง การเจริญ, การทำให้เป็นให้มีขึ้น, การฝึกอบรม หรือ การพัฒนา ประกอบด้วย
 1. กายภาวนา (physical development) แปลว่า พัฒนากาย ได้แก่ การพัฒนาร่างกายให้แข็งแรง ไร้โรค มีสุขภาพดี และที่สำคัญก็คือการพัฒนาความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เริ่มแต่ปัจจัย 4 เป็นต้นไป อย่างถูกต้องดีงาม ในทางที่เป็นคุณประโยชน์ เช่น สัมพันธ์กับอาหาร โดยการกินเพื่อช่วยให้ร่างกายมีกำลัง มีสุขภาพดี ไม่ใช่เพื่อมุ่งความอร่อย อวดโก้ แสดงฐานะ สัมพันธ์กับโทรทัศน์ โดยดูเพื่อติดตามข่าวสาร แสวงหาความรู้ ส่งเสริมปัญญา มิใช่เพื่อหมกมุ่นในความสนุกสนานเพลิดเพลิน หรือเอาเป็นเครื่องมือเล่นการพนัน เป็นต้น



เรื่องที่  ๓ พุทธศาสนสุภาษิต
สุภาษิต แปลว่า  ถ้อยคำที่กล่าวไว้ดี (สุ=ดี,  ภาษิต=กล่าว) สามารถนำมาเป็นคติ   ยึดถือเป็นหลักใจได้
พุทธศาสนสุภาษิต  หมายถึง ถ้อยคำดีๆ ในพระพุทธศาสนา  แต่มิได้หมายความเฉพาะคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เท่านั้น แม้สุภาษิตแทบทั้งหมดจะเป็นพระพุทธพจน์ก็ตาม

เรื่องที่  ๔ ประวัติศาสดาของศาสนาสำคัญในประเทศไทย


ศาสดาของศาสนาต่างๆ
         ศาสนาพุทธ
       เจ้าชายชาวอินเดีย ทรงพระนามว่าเจ้าชายสิทธัตถะ (ต่อมาเป็นที่รู้จักของผู้คนว่าพระพุทธเจ้า)พระองค์ทรงมีชีวิตอยู่เมื่อประมาณ 500 ปีก่อน สมัยของพระเยซู พระองค์ทรงเห็นว่าผู้คนต้องทุกข์ยากจากความชราและความเจ็บป่วย เจ้าชายสิทธัตถะจึงทรงสละราชสมบัติ และทรงธุดงค์ไปิ ตามชนบท เพื่อค้นหาว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญอย่างแท้จริง และอะไรคือ "สัจจธรรม" เมื่อทรงตรัสรู้แล้วก็ได้สอบสิ่งที่พระองค์ทรงเรียนรู้นั้นแก้ผู้อื่น ชาวพุทธกล่าวว่าคนที่จะเป็นพุทธมามกะได้นั้น จะต้องโตพอที่จะรู้ว่าการเป็นคนพุทธนั้นมีความหมายอย่างไร




เรื่องที่  ๕ หลักคำสอนของศาสนาสำคัญในประเทศไทย




หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา     หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนาที่ควรนำไปปฏิบัติ ได้แก่

    ๑. อิทธิบาท ๔
     อิทธิบาท ๔หมายถึง ข้อปฏิบัติให้ถึงความสำเร็จ มี ๔ ประการ คือ
         ๑.๑ ฉันทะ  ความพอใจในงานที่ทำหรือในสิ่งที่จะศึกษาเล่าเรียน
         ๑.๒ วิริยะ  ความเพียรพยายามทำงานให้สำเร็จ ไม่ย่อท้อต่อการทำงาน
         ๑.๓ จิตตะ  ความเอาใจใส่ในการทำงาน ตั้งใจทำงานอย่างสม่ำเสมอ



เรื่องที่  ๖ แผ่นดินไหว


แผ่นดินไหว เป็นปรากฏการณ์สั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ซึ่งแผ่นดินไหวสามารถก่อให้เกิดความเสียหายและภัยพิบัติต่อบ้านเมือง ที่อยู่อาศัย สิ่งมีชีวิต ส่วนสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวนั้นส่วนใหญ่เกิดจากธรรมชาติ โดยแผ่นดินไหวบางลักษณะสามารถเกิดจากการกระทำของมนุษย์ได้ แต่มีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองจากธรรมชาติ นักธรณีวิทยาประมาณกันว่าในวันหนึ่ง ๆ จะเกิดแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบา ๆ เท่านั้น คนทั่วไปไม่รู้สึก


เรื่องที่  ๗ สึนามิ



คลื่นสึนามิ (ญี่ปุ่น: 津波 tsunami สึนะมิ, "คลื่นที่ท่าเรือ" หรือ "คลื่นชายฝั่ง" ) เป็นกลุ่มคลื่นน้ำที่เกิดขึ้นจากการย้ายที่ของปริมาตรน้ำก้อนใหญ่ คือ มหาสมุทรหรือทะเลสาบขนาดใหญ่ แผ่นดินไหว การปะทุของภูเขาไฟและการระเบิดใต้น้ำอื่น (รวมทั้งการจุดระเบิดวัตถุระเบิดนิวเคลียร์ใต้น้ำ) ดินถล่ม ธารน้ำแข็งไถล อุกกาบาตตกและการรบกวนอื่น ไม่ว่าเหนือหรือใต้น้ำ ล้วนอาจก่อให้เกิดเป็นคลื่นสึนามิได้ทั้งสิ้น


เรื่องที่  ๘ อุทกภัย



น้ำท่วม เป็นการไหลล้นของห้วงน้ำซึ่งทำให้แผ่นดินจมอยู่ใต้น้ำ คำว่า "น้ำเอ่อล้น" (flowing water) ยังอาจใช้กับการไหลเข้าของกระแสน้ำ น้ำท่วมอาจเป็นผลของปริมาตรน้ำภายในแหล่งน้ำ เช่น แม่น้ำหรือทะเลสาบ ซึ่งไหลล้นหรือทลายคันดิน เป็นผลให้น้ำบางส่วนออกจากขอบเขตตามปกติของมัน


เรื่องที่  ๙ การกัดเซาะชายฝั่ง


การกัดเซาะชายฝั่ง (อังกฤษ: coastal erosion) เกิดจากพลังของคลื่น ลม และกระแสน้ำขึ้นลง (tidal ranges) ที่ส่งผลกระทบต่อชายฝั่งทำให้มีการสึกกร่อนพังทลายไป และเป็นต้นเหตุของการเกิดรูปร่างลักษณะของชายฝั่งทะเลที่แตกต่างกันไปตามสถานที่ต่างๆชายฝั่งที่พบลักษณะการกัดเซาะส่วนมากมักเป็นบริเวณชายฝั่งทะเลน้ำลึก ที่ลักษณะของชายฝั่งมีความลาดชันลงสู่ท้องทะเล ทำให้คลื่นลม และกระแสน้ำสามารถกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างรุนแรง


เรื่องที่  ๑๐ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติในโลก

ปัจจุบันได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของโลก ทั้งในส่วนที่เกิดจากภายในเปลือกโลกการเปลี่ยนแปลงบริเวณบริเวณพื้นผิวโลกและการเปลี่ยนแปลงในบรรยากาศของโลกอันมีผลกระทบโดยตรงอ้อมต่อมมนุษย์ ลักษณะการเปลี่ยนแปลงมีตั้งแต่การเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ไปจนถึงการเกิดอย่างฉับพลันและรุนแรง ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก


เรื่องที่  ๑๑ สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย

  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แต่การพึ่งพิงอาศัยประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติของมนุษย์ล้วนทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง เกิดเป็นวิกฤตการณ์ทั้งทางด้านบรรยากาศ ดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า และพลังงานขึ้นทั่วโลก การศึกษาสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์สถานการณ์วิกฤตการณ์ เพื่อเป็นฐานความรู้ในการสร้างความตระหนักและช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรชาติต่อไป


เรื่องที่  ๑๒ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสหกรณ์

 สหกรณ์ คือ “ องค์การของบรรดาบุคคล ซึ่งรวมกลุ่มกันโดยสมัครใจในการดำเนินวิสาหกิจที่พวกเขาเป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุมตามหลักประชาธิปไตย เพื่อสนองความต้องการ ( อันจำเป็น ) และความหวังร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม”


เรื่องที่  ๑๓ วิวัฒนาการของสหกรณ์ในประเทศไทย

ครั้งที่ 1   พ.ศ.2459               ออกตามความในพระราชบัญญัติสมาคมเพิ่มเติม พ.ศ. 2459   มีจำนวน 1 ประเภท   เนื่องจากส่งเสริมการจัดตั้งสหกรณ์หาทุนเพียงประเภทเดียว



เรื่องที่  ๑๔ สืบค้นข้อมูลกิจการสหกรณ์



           ความเป็นมาของการจัดตั้ง         ลำดับขั้นตอนในการจัดตั้ง  
          การดำเนินกิจการของสหกรณ์     ความภาคภูมิใจของสหกรณ์ 
 
    
  ความเป็นมาของการจัดตั้ง

        จังหวัดนครราชสีมา เป็นจังหวัดใหญ่ มีข้าราชการครูจำนวนมาก จากการสำรวจข้อมูลปีพ.ศ.2534 พบว่ามีข้าราชการครูสังกัดกรมสามัญศึกษาจำนวน 4,000 คนเศษ ครึ่งหนึ่งของข้าราชการครูเหล่านี้เป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูนครราชสีมา จำกัด และอีกเกือบ 2,000 คนที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิกของสหกรณ์ดังกล่าว คณะกรรมการสามัญศึกษาจังหวัดนครราชสีมาขณะนั้น และผู้บริหารโรงเรียนกรมสามัญศึกษาส่วนหนึ่งซึ่งเข้าในในหลักการและมองเห็นประโยชน์ที่เพื่อนครูจะได้รับจากการเป็นสมาชิกสหกรณ์